มองเมืองไทยของคนบ้านนอก

Powered By Blogger

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

แรงงานไทยดีจริงหรือ

"สภาลูกจ้างฯ"ชี้ลูกจ้างอยู่รอดด้วยโอทีเป็นหลัก

mhtml:file://C:\Documents%20and%20Settings\Owner\My%20Documents\Quality%20of%20Life%20-%20Manager%20Online%20-%20สภาลูกจ้างฯชี้ลูกจ้างอยู่รอดด้วยโอทีเป็นหลัก.mht!http://www.manager.co.th/images/blank.gif

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
1 เมษายน 2554 17:26 น.

mhtml:file://C:\Documents%20and%20Settings\Owner\My%20Documents\Quality%20of%20Life%20-%20Manager%20Online%20-%20สภาลูกจ้างฯชี้ลูกจ้างอยู่รอดด้วยโอทีเป็นหลัก.mht!http://www.manager.co.th/images/blank.gif

mhtml:file://C:\Documents%20and%20Settings\Owner\My%20Documents\Quality%20of%20Life%20-%20Manager%20Online%20-%20สภาลูกจ้างฯชี้ลูกจ้างอยู่รอดด้วยโอทีเป็นหลัก.mht!http://pics.manager.co.th/Images/554000004420201.JPEG
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
mhtml:file://C:\Documents%20and%20Settings\Owner\My%20Documents\Quality%20of%20Life%20-%20Manager%20Online%20-%20สภาลูกจ้างฯชี้ลูกจ้างอยู่รอดด้วยโอทีเป็นหลัก.mht!http://www.manager.co.th/images/blank.gif
mhtml:file://C:\Documents%20and%20Settings\Owner\My%20Documents\Quality%20of%20Life%20-%20Manager%20Online%20-%20สภาลูกจ้างฯชี้ลูกจ้างอยู่รอดด้วยโอทีเป็นหลัก.mht!http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       ประธานสภาลูกจ้างฯ เผย ลูกจ้างในปัจจุบันไม่สามารถอยู่ได้โดยอาศัยค่าจ้างขั้นต่ำอย่างเดียว ชี้ต้องอาศัยค่าล่วงเวลา เบี้ยขยันเป็นหลัก แจงค่าจ้างขั้นต่ำไม่ใช่ต้นทุนการผลิตแท้จริง ด้านสภาอุตฯ หวั่น กระทบส่งออก เหตุสู้ต้นทุนเพื่อนบ้านไม่ได้ ต้องพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีคุณภาพ
      
       วันนี้(1เม.ย.) กระทรวงแรงงานร่วมกับมูลนิธิอารมณ์พงศ์พงัน จัดเสวนาทางวิชาการ เรื่อง ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ : แรงงานไทยดีจริงหรือ? ณ ห้องสมประสงค์ 202 ชั้น 2 อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
      
       
นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ที่ผ่านมาการปรับค่าจ้างประจำปีต้องไม่น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศ ระดับค่าครองชีพของแต่ละพื้นที่ ที่ผ่านมามีการนำเรื่องคุณภาพการดำรงชีวิตของแรงงานมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาด้วย แรงงานต้องมีความสุขในการทำงาน มีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น อัตราค่าจ้างขึ้นต่ำในพื้นที่กรุงเทพมหานครจากเดิม (ประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำฉบับที่ 3 บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2553 ) อยู่ที่ 206 บาท ปัจจุบันตามประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำฉบับที่ 5 (บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2554 ) อยู่ที่ 215 บาท โดยใช้ฐานคำนวณจากปีที่แล้วมีภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงตัวเลขค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพของคนงานเพื่อให้อยู่ตามอัตภาพควรอยู่ที่ 213 บาท เมื่อรวมถึงค่าใช้จ่ายสำหรับคุณภาพชีวิตที่ดีจึงเป็นที่มาของตัวเลขล่าสุดของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ 215 บาท ซึ่งเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำยังเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับแรงงานแรกเข้าสู่การทำงาน หรือแรงงานไร้ฝีมือ แต่ในส่วนการพัฒนาแรงงานไทยสู่แรงงานมีฝีมือ ขณะนี้ได้มีการเตรียมการใช้อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานอาชีพจะเริ่มจาก 11 สาขาอาชีพ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความเป็นธรรมกับแรงงานที่มีฝีมือ สร้างแรงจูงใจให้แรงงานได้มีการพัฒนาฝีมือตนเองให้มีความรู้ความสามารถและมีค่าจ้างที่สูงขึ้น
      
       
นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ค่าจ้างกับการดำรงชีพของผู้ใช้แรงงานยุคปัจจุบันมิได้ขึ้นอยู่กับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นหลัก แต่สามารถอยู่รอดได้โดยอาศัย เงินโอทีหรือค่าล่วงเวลาและในขณะที่ผู้ประกอบการมองว่า การปรับเพิ่ม ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตจึงอยากให้มีการปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่ค่าจ้างขั้นต่ำมิได้มีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตที่แท้จริง อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเรื่องที่ดี แต่ภาครัฐและผู้เกี่ยวข้องต้องมีมาตรการในการควบคุมราคาสินค้าควบคู่กันไปด้วย
      
       นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับ
การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่ว่าจะเป็น ไม่มีม๊อบ..ค่าจ้างขั้นต่ำไม่ปรับ หรือขึ้นค่าจ้าง..ปรับลดค่าล่วงเวลา (OT) การดำรงอยู่ของลูกจ้างปัจจุบันไม่สามารถอยู่ได้โดยอาศัย ค่าจ้างขั้นต่ำเพียงอย่างเดียวแต่ต้องอาศัยค่าล่วงเวลา OT ค่าเบี้ยขยัน วันนี้..ประเทศไทยต้องก้าวข้ามเรื่อง ค่าจ้างขั้นต่ำไปสู่การกำหนดโครงสร้างค่าจ้างตามมาตรฐานวิชาชีพ ป อีก 4 ปี ประเทศไทยต้องก้าวสู่การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC.2015) และการพัฒนาแรงงานไทยให้มีทักษะฝีมือ ย่อมเป็นที่ต้องการของนายจ้าง / ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม มากกว่าการคำนึงถึงการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ ท้ายสุดคือเพื่อทำให้เกิดค่าจ้างที่เป็นธรรมแก่ผู้ใช้แรงงาน
      
       ด้าน
นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทยมีสัดส่วนเพื่อการส่งออกร้อยละ 70 และเพื่อการบริโภคภายในประเทศร้อยละ 30 ซึ่งต้องแข่งขันในตลาดการส่งออกกับประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์มีค่าแรงต่ำกว่าย่อมมีต้นทุนการผลิตที่ได้เปรียบกว่า และถ้ามีการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบสูงคือกลุ่ม SMEs และกลุ่มรับช่วงงานเพราะ ค่าจ้างแรงงานอยู่ในสัดส่วนถึงร้อยละ 40 - 50 ของต้นทุนการผลิตรวม ดังนั้นหากมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งออกเพราะต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ราคาสินค้าจะสูงขึ้นจะส่งผลให้การสั่งซื้อสินค้าลดลง แต่ขณะเดียวกัน
      
       
จากการคาดการณ์ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ : GDP มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นในแต่ละปี หากไม่มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำลูกจ้างก็อยู่ไม่ได้ แต่สิ่งสำคัญที่อยากให้คำนึงถึงคือต้องมีการพัฒนาศักยภาพแรงงานเพื่อให้มีคุณภาพที่สูงขึ้น
      
       ขณะที่
รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ประธานมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน กล่าวว่าปัจจัยการผลิต 4 ด้าน คือ ที่ดิน วัตถุดิบ ทุน และแรงงาน แรงงานในที่นี่ไม่ได้หมายถึง คนแต่เป็น การผลิตที่ได้จากคนซึ่งอาจประกอบด้วย กำลังแรง กำลังสมอง การที่คนหนึ่งคนจะก้าวสู่การเป็นผู้สร้างการผลิตหรือก้าวสู่วัยทำงานอย่างน้อย 15 ปี ต้องมีการลงทุนไปเท่าไหร่ นี่คือ ทุนมนุษย์ดังนั้นหากมองว่าต้นทุนการผลิตต้องควรปรับเพิ่มกำไรปีละ 10% ทุนมนุษย์ก็ต้องมีการปรับเพิ่มกำไรหรือปรับเพิ่มค่าจ้างไม่ต่ำกว่า 10% เช่นกัน ทั้งนี้ยังมีความเห็นว่า ค่าจ้างขั้นต่ำยังควรมีไว้สำหรับแรงงานแรกเข้าทำงานเท่านั้น

1 ความคิดเห็น:

  1. แรงงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือ กลับถูกละเลยหรือมองข้าม นายจ้างหรือผู้ประกอบการทำทุกวิถีทางเพื่อจะลดต้นทุนค่าแรง จนบางอาชีพกำลังถูกบั่นทอนและอาจแข่งขันกับชาติอื่นไม่ได้ เช่นอาชีพกุ๊ก กำลังจะถูกแทนที่ด้วยอาหารสำเร็จรูป ซอสต่างๆสำเร็จรูปเช่นกัน โดยเฉพาะกิจการร้านอาหารมีสาขามากๆ ก็จะใช้นโยบายแบบสูตรสำเร็จมองแรงงานด้านนี้เช่นเดียวกัน
    ก่อนหน้านี้ 10 กว่าปี การที่เข้าไปสู่อาชีพกุ๊กหรือได้ตำแหน่งกุ๊ก ปีแรก ฝึกผู้ช่วยกุ๊ก ปีที่2-3เป็นผู้ช่วยกุ๊ก ปีที่4เป็นกุ๊ก เมื่อได้ใบผ่านงานในตำแหน่งกุ๊กไปสมัครงานที่ใหนก็ต้องได้ตำแหน่งนี้ แต่ปัจจุบันขั้นตอนเหล่านี้กลับถูกมองข้าม บางบริษัทไม่สนใจขั้นตอนดังกล่าว เวลาต่อมาเมื่อพนักงานออกไปสมัครงานแห่งใหม่ถูกปฏิเสธด้วยคำพูดว่า"ร้านฯที่คุณทำมาทำอาหารไม่เป็น กุ๊กพลาสติก"(ใช้แต่ซอสสำเร็จที่ใส่ถุงมาเวลาปรุงก็จะใช้กรรไกรตัดเทลงกะทะ)

    ตอบลบ